วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2566

หลักสูตรและสาระการเรียนรู้แกนกลางเทคโนโลยี ระดับม.ปลาย

มาตรฐาน ว ๔.๑ เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ ศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม
ม.4 ๑. วิเคราะห์แนวคิดหลักของเทคโนโลยี ความสัมพันธ์
กับศาสตร์อื่น โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ หรือ
คณิตศาสตร์ รวมทั้งประเมินผลกระทบที่
จะเกิดขึ้นต่อมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และ
สิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา
เทคโนโลยี
• ระบบทางเทคโนโลยี เป็นกลุ่มของส่วนต่าง ๆ ตั้งแต่
สองส่วนขึ้นไปประกอบเข้าด้วยกันและทำงาน
ร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยในการทำงาน
ของระบบทางเทคโนโลยีจะประกอบไปด้วย
ตัวป้อน (input) กระบวนการ (process) และ
ผลผลิต (output) ที่สัมพันธ์กันนอกจากนี้
ระบบทางเทคโนโลยีอาจมีข้อมูลย้อนกลับ
(feedback) เพื่อใช้ปรับปรุงการทำงานได้ตาม
วัตถุประสงค์ โดยระบบทางเทคโนโลยีอาจมี
ระบบย่อยหลายระบบ (sub-systems) ที่ทำงาน
สัมพันธ์กันอยู่ และหากระบบย่อยใดทำงาน
ผิดพลาดจะส่งผลต่อการทำงานของระบบอื่นด้วย
• เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตั้งแต่
อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีสาเหตุหรือปัจจัย
มาจากหลายด้าน เช่น ปัญหา ความต้องการ
ความก้าวหน้าของศาสตร์ต่าง ๆ เศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม
๒. ระบุปัญหาหรือความต้องการที่มีผลกระทบต่อ
สังคม รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิด
ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีความซับซ้อน
เพื่อสังเคราะห์วิธีการ เทคนิคในการแก้ปัญหา
โดยคำนึงถึงความถูกต้องด้านทรัพย์สินทาง
ปัญญา
• ปัญหาหรือความต้องการที่มีผลกระทบต่อสังคม
เช่น ปัญหาด้านการเกษตร อาหาร พลังงาน
การขนส่ง สุขภาพและการแพทย์ การบริการ
ซึ่งแต่ละด้านอาจมีได้หลากหลายปัญหา
• การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาโดยอาจใช้เทคนิค
หรือวิธีการวิเคราะห์ที่หลากหลาย ช่วยให้เข้าใจ
เงื่อนไขและกรอบของปัญหาได้ชัดเจน จากนั้น
ดำเนินการสืบค้น รวบรวมข้อมูล ความรู้จาก
ศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การออกแบบ
แนวทางการแก้ปัญหา
๓. ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์
เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำเป็น
ภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากรที่มีอยู่ นำเสนอ
แนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจด้วยเทคนิค
หรือวิธีการที่หลากหลาย โดยใช้ซอฟต์แวร์
ช่วยในการออกแบบ วางแผนขั้นตอนการทำงาน
และดำเนินการแก้ปัญหา
• การวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูล
ที่จำเป็น โดยคำนึงถึงทรัพย์สินทางปัญญา
เงื่อนไขและทรัพยากร เช่น งบประมาณ เวลา
ข้อมูลและสารสนเทศ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์
ช่วยให้ได้แนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
• การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหาทำได้
หลากหลายวิธี เช่น การร่างภาพ การเขียนแผนภาพ
การเขียนผังงาน
• ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบและนำเสนอ
มีหลากหลายชนิดจึงต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับงาน
• การกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการทำงาน
ก่อนดำเนินการแก้ปัญหาจะช่วยให้การทำงาน
สำเร็จได้ตามเป้าหมาย และลดข้อผิดพลาดของ
การทำงานที่อาจเกิดขึ้น
๔. ทดสอบ ประเมินผล วิเคราะห์ และให้เหตุผล
ของปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นภายใต้
กรอบเงื่อนไข หาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข
และนำเสนอผลการแก้ปัญหา พร้อมทั้งเสนอ
แนวทางการพัฒนาต่อยอด
• การทดสอบและประเมินผลเป็นการตรวจสอบ
ชิ้นงานหรือวิธีการว่าสามารถแก้ปัญหาได้ตาม
วัตถุประสงค์ภายใต้กรอบของปัญหา เพื่อหา
ข้อบกพร่อง และดำเนินการปรับปรุง โดยอาจ
ทดสอบซ้ำเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
• การนำเสนอผลงานเป็นการถ่ายทอดแนวคิด
เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน
และชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้ ซึ่งสามารถทำได้
หลายวิธี เช่น การทำแผ่นนำเสนอผลงาน การจัด
นิทรรศการ การนำเสนอผ่านสื่อออนไลน์ หรือ
การนำเสนอต่อภาคธุรกิจ เพื่อการพัฒนาต่อยอด
สู่งานอาชีพ
๕. ใช้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์
เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
และเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในการแก้ปัญหา
หรือพัฒนางาน ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
และปลอดภัย
• วัสดุแต่ละประเภทมีสมบัติแตกต่างกัน เช่น
ไม้สังเคราะห์ โลหะ จึงต้องมีการวิเคราะห์สมบัติ
เพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน
• การสร้างชิ้นงานอาจใช้ความรู้ เรื่องกลไก ไฟฟ้า
อิเล็กทรอนิกส์ เช่น LDR sensor เฟือง รอก คาน
วงจรสำเร็จรูป
• อุปกรณ์และเครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน หรือ
พัฒนาวิธีการมีหลายประเภท ต้องเลือกใช้
ให้ถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย รวมทั้ง
รู้จักเก็บรักษา
ม.5 6. ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะจากศาสตร์ต่าง ๆ
รวมทั้งทรัพยากรในการทำโครงงานเพื่อแก้ปัญหา
หรือพัฒนางาน
• การทำโครงงาน เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้
และทักษะจากศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากร
ในการสร้างหรือพัฒนาชิ้นงานหรือวิธีการ เพื่อ
แก้ปัญหาหรืออำนวยความสะดวกในการทำงาน
• การทำโครงงานการออกแบบและเทคโนโลยี
สามารถดำเนินการได้ โดยเริ่มจาก การสำรวจ
สถานการณ์ปัญหาที่สนใจ เพื่อกำหนดหัวข้อ
โครงงาน แล้วรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง
กับปัญหา ออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา วางแผน
และดำเนินการแก้ปัญหา ทดสอบ ประเมินผล
ปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน และ
นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา

มาตรฐาน ว ๔.๒ เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็น ขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม


ม.4 7. ประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการพัฒนา
โครงงานที่มีการบูรณาการกับวิชาอื่น
อย่างสร้างสรรค์ และเชื่อมโยงกับชีวิตจริง
• การพัฒนาโครงงาน
• การนำแนวคิดเชิงคำนวณไปพัฒนาโครงงาน
ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เช่น การจัดการพลังงาน
อาหาร การเกษตร การตลาด การค้าขาย
การทำธุรกรรม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
• ตัวอย่างโครงงาน เช่น ระบบดูแลสุขภาพ ระบบ
อัตโนมัติควบคุมการปลูกพืช ระบบจัดเส้นทาง
การขนส่งผลผลิต ระบบแนะนำการใช้งานห้องสมุด
ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้และเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล
ม.5 8. รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และใช้ความรู้
ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิทัล เทคโนโลยี
สารสนเทศในการแก้ปัญหาหรือเพิ่มมูลค่า
ให้กับบริการหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตจริง
อย่างสร้างสรรค์
• การนำความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
สื่อดิจิทัล และเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้แก้ปัญหา
กับชีวิตจริง
• การเพิ่มมูลค่าให้บริการหรือผลิตภัณฑ์
• การเก็บข้อมูลและการจัดเตรียมข้อมูลให้พร้อม
กับการประมวลผล
• การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
• การประมวลผลข้อมูล และเครื่องมือ
• การทำข้อมูลให้เป็นภาพ (data visualization)
เช่น bar chart, scatter, histogram• การเลือกใช้แหล่งข้อมูล เช่น data.go.th,
wolfram alpha, OECD.org, ตลาดหลักทรัพย์ ,
world economic forum
• คุณค่าของข้อมูลและกรณีศึกษา
• กรณีศึกษาและวิธีการแก้ปัญหา
• ตัวอย่างปัญหา เช่น
- รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่ดึงดูดความสนใจ และ
ตรงตามความต้องการผู้ใช้ในแต่ละประเภท
- การกำหนดตำแหน่งป้ายรถเมล์เพื่อลดเวลา
เดินทางและปัญหาการจราจร
- สำรวจความต้องการรับประทานอาหาร
ในชุมชน และเลือกขายอาหารที่จะได้กำไรสูงสุด
- ออกแบบรายการอาหาร ๗ วัน สำหรับผู้ป่วย
เบาหวาน
ม.6 9. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอ และ
แบ่งปันข้อมูลอย่างปลอดภัย มีจริยธรรม และ
วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต อาชีพ สังคม และ
วัฒนธรรม
• การนำเสนอและแบ่งปันข้อมูล เช่น การเขียน
บล็อก อัปโหลดวิดีโอ ภาพอินโฟกราฟิก
• การนำเสนอและแบ่งปันข้อมูลอย่างปลอดภัย
เช่น ระมัดระวังผลกระทบที่ตามมา เมื่อมีการ
แบ่งปันข้อมูลหรือเผยแพร่ข้อมูล ไม่สร้าง
ความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น
• จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
• เทคโนโลยีเกิดใหม่ แนวโน้มในอนาคต
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
• นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับชีวิตประจำวัน
• อาชีพเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
• ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการ
ดำเนินชีวิต อาชีพ สังคม และวัฒนธรรม

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

โจทย์ PHP ระบบเลือกชุมนุม

 โรงเรียนแห่งหนึ่ง มีการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนชุมนุม เป็นกิจกรรมที่นักเรียนจะใช้เวลาว่างทำกิจกรรมตามความสนใจ โดย มีขั้นตอนการจัดตั้งชุมนุมดังนี้ 

1. นักเรียนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน รวมตัวกันเพื่อจัดตั้งชุมนุม ประมาณ 10 - 30 คน 

2. เลือกหัวหน้า และ รองชุมนุม 

3. ขอแบบฟอร์ม การจัดตั้งชุมนุมที่ห้องวิชาการ และกรอกรายละเอียดให้เรียบร้อย 

4. นำแบบจัดตั้งชุมนุมให้ครู 1-2 คนพิจารณา รับเป็นที่ปรึกษาชุมนุม โดยครูทุกคนในโรงเรียนสามารถเป็นที่ปรึกษาได้เพียงชุมนุมเดียวเท่านั้น

5. กิจกรรมชุมนุมเป็นวิชาบังคับเลือก นักเรียนทุกคนต้องมีชุมนุมทุกปีการศึกษา นักเรียนสามารถเลือกอยู่ชุมนุมได้ปีการศึกละละ 1 ชุมนุมเท่านั้น มีผลการเรียนเป็น "ผ่าน" และ "ไม่ผ่าน"

6. ช่วงเดือนแรกของภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนจะมีการเปิดให้นักเรียนจัดตั้งชุมนุม หลังจากนั้นจะประกาศรายชื่อชุมนุนมที่ตั้งไว้แล้ว ให้นักเรียนที่ไม่มีความสนใจจะจัดตั้งชุมนุมเอง สามารถสมัครเข้าชุมนุมที่ตั้งไว้แล้วได้

จากลายละเอียดดังกล่าว โรงเรียนมีปัญหาคือ มีนักเรียนที่ไม่ได้เลือกชุมนุม เนื่องจากนักเรียนไม่ทราบว่าจะสมัครเข้าชุมนุมอะไร โดยส่วนใหญ่เป็นนักเรียน ม.1 ที่เข้ามาใหม่ จึงมีความประสงค์จะแก้ปัญหาด้วยการสร้าง Web Application เพื่อสะดวกในการเลือกชุมนุม และ ตรวจสอบนักเรียนที่ยังไม่มีชุมนุมอยู่เพื่อช่วยเหลือต่อไป โดยมีคุณสมบัติของระบบดังนี้

1. มีผู้ดูแลระบบที่มีคุณสมบัติดังนี้

    1.1 ข้อมูลนักเรียนและครูถูกนำเข้าโดย Admin 

    1.2 Admin สามารถ ดูข้อมูลชุมนุมและสมาชิกชุมนุมได้

    1.3 สามารถดูได้ว่า ครูและนักเรียนคนใดยังไม่เป็นสมาชิกชุมนุม

2. นักเรียนที่จะจัดตั้งชุมนุมต้องเขียนแบบฟอร์มจัดตั้งชุมนุม และนำไปให้ครูที่ปรึกษาชุมนุมเป็นผู้จัดตั้งชมนุม โดยครูต้อง login เข้าระบบมาเพิ่มชุมนุม

3. นักเรียนสามารถ login เข้ามาดูว่าตนเองเป็นสมาชิกชุมนุมใด 

4. หากนักเรียนยังไม่มีชุมนุม นักเรียนสามารถค้นหา เพื่อดูข้อมูลขอลชุมนุมที่สนใจ และสมัครเข้าชุมนุมผ่านระบบได้

โจทย์ PHP กระดานข่าว

โรงเรียนแห่งหนึ่ง ต้องการพัฒนาระบบ Web Board เพื่อให้นักเรียนได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันระหว่าง ครู ผู้บริหาร  ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า  และศิษย์ปัจจุบัน โดยปกปิดตัวตนที่แท้จริง แต่ผู้ที่จะสมัครได้ต้องกรอกข้อมูลการสมัครที่แท้จริง เช่น ข้อมูลในบัตรประชาชนเป็นต้น โดยเมื่อสมัครมาแล้วจะมีคณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลก่อนอนุมัติ โดย Web Board มีคุณสมบัติดังนี้

1. ผู้ใช้ทุกคนสามารถตั้งกระทู้ถามได้ 

2. ผู้ใช้ทุกคนสามารถตอบคำถามในกระทู้ได้

3. หน้าแรกของ Web Board หลังจากเข้าสู่ระบบจะแสดงกระทู้ทั้งหมด โดยเรียงจากกระทู้ที่ถูกตั้งใหม่ล่าสุด 20 กระทู้ 

4. สามารถค้นหากระทู้ที่สนใจได้ 

5. ผู้ใช้สามารถดูรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวของตนเองเพื่อตรวจสอบความถูกต้องได้ 

6. ผู้ใช้สามารถดู แก้ไข และ ลบ กระทู้ทั้งหมดที่ตัวเองตั้งคำถามได้

*** สามารถกำหนดกฏเพิ่มได้ 2 ข้อ เพื่อความสะดวกของระบบ

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565

พีธีไหวครู เป็นบุญกุศล


การไหว้ครู ในพิธีไหว้ครู

บุญที่เกิดจากการรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน

อปจายนมัย แห่งบุญกิริยาวัตถุ 10


วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565

สร้าง app ด้วย glideapps

โปรแกรมสร้างแอพพลิเคชั่นและเว็บ application ที่น่าสนใจ โดย application สามารถสร้างทางได้ iOS และ android สามารถใช้แหล่งเก็บข้อมูลได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น google sheet ,microsoft excel หรือแม้แต่ฐานข้อมูล MySQL

หลักสูตรและสาระการเรียนรู้แกนกลางเทคโนโลยี ระดับม.ปลาย

มาตรฐาน ว ๔.๑ เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิต...