วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การหาพิกัดบ้านตัวเองด้วย Google Map (Find latitude longitude your home with Google Map)

        เนื่องจากโรงเรียนสงวนหญิงได้แจกแบบกรอกข้อมูลให้นักเรียนเพื่อจัดทำระบบไอสคูล( I-School)ซึ่งข้อมูลทั่วไปผมเองไม่ห่วงลูกศิษย์เท่าไรกรอกได้สบายๆ แต่ห่วง พิกัดบ้านของนักเรียน จะไปหาจากไหน บางคนมีโทรศัพท์สมาร์ทโฟน (Smart Phone) ก็ไม่มีปัญหา แต่ที่ไม่มีละ ??? ผมเลยเขียนบทความนี้เพื่อให้นักเรียนได้รู้วิธีหาพิกัดบ้านได้ง่ายๆด้วยกูเกิล(Google) หรือ กูเกิลแผนที่ ( Google Map)
        กูเกิลแผนที่ ( Google Map is) เรียกว่ากูเกิลแม็พคือหนึ่งในบริการฟรีของกูเกิลที่ให้บริการข้อมูลแผนที่มีความสามารถมากมายเช่น คำนวณเส้นทาง ค้นหาสถานที่ ดูรูปถ่ายดาวเทียม ฯลฯ โดยในประเทศไทยสามารถเข้าถึงได้จาก https://maps.google.co.th/
https://maps.google.co.th/
        
        มาหาหลังคาบ้านตัวเองกัน
        1. พิมพ์สถานที่ใกล้บ้านของเราในช่องค้นหา สมมุติบ้านผมเองอยู่ใกล้วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี ผมก็พิมพ์ "วัดป่าเลไลย์" ในช่องค้นหาแล้วคลิ๊กแว่นขยายสีฟ้าๆ
        2. จะพบสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับที่เราพิมพ์ค้นหาโดยจะเป็นสัญลักษณ์ A B C... สีแดงให้คลิ๊ก "เพิ่มเติม" แล้วเลือก "ซูมที่นี่" 
        3. แผนที่จะซุมเข้าไปใกล้กับสถานที่ที่เราเลือก

        4. หากแผนที่ไม่ชัดเจนพอ สามารถย่อ/ขยายได้ที่ส่วนนี้
        5. ตรงนี้คือสถานที่ทีเราสนใจและสั่งให้ซูมเข้ามา
        6. ให้เลื่อนมองหาสถานที่ที่น่าจะเป็นบ้านของเรา เมื่อพบแล้วให้นำเมาส์ไปชี้ที่จุดนั้นในแผนที่แล้วคลิีกขวาจะปรากฏเมนู 
        7. เลือกเมนู "นี่คืออะไร" ดังรูป

        
        8.เราจะได้ลูกศรสีเขียวปักลงไปที่จุดที่เราเลือกเมนู "นี่คืออะไร" พร้อมกรอบสี่เหลี่ยมเล็กๆหากนำเมาส์มาชี้บอกพิกัดว่า ตรงที่เราชี้มีพิกัดอะไร
        9.ในช่องค้นหาจะปรากฏ พิกัดที่อยู่ จากตัวอย่างได้พิกัด 14.473744,100.100291
        10. เป็นตำแหน่งถนนที่อยู่ใกล้จุดพิกัดที่สุด

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การสร้างบล็อกด้วย Blogger ( Create Blog with Blogger)

        บล็อก (blog) หรือ เรียกอย่างเป็นทางการว่า เว็บล็อก (weblog) คือหน้าเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง โดยมีที่มาของชื่อจากลักษระการสร้าง web (เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปุ่ม, บันทึก) รวมกัน หมายถึง บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ นั่นคือบล็อกสามารถสร้างได้บนเว็บเลยนั่นเอง โดยรวมแล้วลักษณะของบล็อกจะคล้ายๆกับ เว็บสำเร็จรูป โดยเราสร้างเนื้อหาขึ้นมาเอง
        บล็อกเกอร์ (Blogger) หรือ www.blogger.com เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อกของกูเกิ้ล(Google) ให้บริการฟรีเพียงแต่จะต้องมีบัญชีอีเมล์ของจีเมล์ (Gmail Account) สามารถดูวิธีสมัครได้ที่นี่ โดยขั้นตอนการสร้างบล็อกมีดังนี้
        1. ล็อกอินเข้าสู่ระบบด้วยบัญชีจีเมล์(Gmail Account)

        
        2. เมื่อเข้าสู่หน้าแรกของ bloger จะมีเมนูที่ง่าย ไม่ซับซ้อน มีรายละเอียดเจ้าของบล็อกคล้ายกับในจีเมล์ (Gmail) หากมีบล็อกที่เคยสร้างแล้วก็จะปรากฏชื่อบล็อก ซึ่งในกรณีนี้เราต้องการสร้างบล็อกใหม่ให้คลิ๊กที่ปุ่ม  "บล็อกใหม่"


        3. กรอกข้อมูลของบล็อกดังนี้
            1) หัวข้อ คือ ชื่อหรือคำสำคัญของบล็อก  ควรตั้งให้สอดคล้องกับเนื้อหาของบล็อกด้วย สามารถตั้งเป็นภาษาไทยได้ และสามารถเปลี่ยนได้ในภายหลัง
            2) ที่อยู่ คือ ที่อยู่ของบล็อกที่เป็นเว็บไซต์ของเรา นับว่าเป็นส่วนที่สำคัญเพื่อให้ผู้เข้าชมบล็อกสามารถเข้าถึงบล็อกเราได้ง่ายมีหลักการตั้งชื่อดังนี้
                 - ต้องตั้งเป็นภาษาอังกฤษ (English)
                 - ต้องไม่ซ้ำกับชื่อบล็อกที่มีอยู่เดิม (ไม่ซ้ำกับผู้อื่น)หากซ้ำจะมีเครื่องหมาย ! แสดงในช่อง
                 - ควรตั้งเป็นคำที่สื่อความหมายสอดคล้องกับเนื้อหาของบล็อก
                 - ควรเป็นคำที่สะกดง่าย เข้าใจหรือจดจำได้ และตั้งให้สั้นที่สุด น้อยคำที่สุด โดยทั่วไปไม่ควรเกิน 3 คำ เช่น GooGle 2 คำ krumodsay 3 คำ เป็นต้น
                 - เมื่อกรอกถูกต้องและเป็นที่พอใจแล้วจะได้ที่อยู่บล็อกในลักษณะ <ชื่อบล็อกที่เราตั้ง>.Blogspot.com เช่น http://krumodsay.blogspot.com
            3) เลือกเทมเพลต (template) หรือ รูปแบบของบล็อก ซึ่งเราสามารถแก้ได้ในภายหลัง
            4) คลิ๊กที่สร้างบล็อค


        4. จะเข้าสู่หน้าการบริหารจัดการบล็อก (Management Page) และสามารถเข้าถึงบล็อกจากที่อยู่ที่ตั้งได้ทันที



วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปากกาแดง 1 แท่ง

        เนื่องจากโรงเรียนสงวนหญิงได้รับเงินค่าอุปกรณ์การเรียน ผมก็เป็นครูที่ปรึกษาของนักเรียนชั้นม.4/1 ก่อนที่จะแจกเงินให้นักเรียนก็ประกาศให้เค้าฟังว่าเป็นจำนวนเงินสองร้อยกว่าบาท ก็ได้ยินเสียงอุทานของนักเรียนว่า "แค่สองร้อยกว่าบาท วันเดียวก็หมด" ผมเลยได้โอกาสสอนเด็กๆว่า
        พวกเราทุกคนเกิดมามีบุญ วาสนามากกว่าคนอื่นๆมากนัก
        พวกเรารู้มั้ยว่าเงินสองร้อยสำหรับเด็กในถิ่นธุรกันดาร สามารถทำให้เค้าเรียนหนังสือได้ทั้งภาคเรียน
        พวกเรารู้จักครูฝ้ายมั้ย ตอนนี้คุณครูไปบรรจุที่โรงเรียนบ้านทุ่งหยีเพ็ง อยู่บนเกาะลันตา เป็นครูประจำชั้นนักเรียนชั้น ป.4
        ด้วยความที่ครูฝ้ายยังไม่รู้สภาพของนักเรียน จึงได้ให้งานนักเรียนทำในสมุด เสร็จแล้วให้แลกกันตรวจด้วย "ปากกาแดง" 


        ความที่เด็กน้อยป.4 ไม่กล้าที่จะขัดคำสั่งครู จึงได้ข้อหยิบยืมปากกาแดงจากเพื่อน แต่สิ่งที่พบคือ "ทั้งห้อง ป.4 มีปากกาแดงเพียงแท่งเดียวเท่านั้น" แล้วยืมกัน ผลัดกันตรวจทั้งห้อง
        แล้วพวกเราละ มีปากกาพอใช้กันมั้ย ?? แล้วตอนนี้ตั้งใจเรียนสมควรกับที่มีโอกาสมั้ย ?? แล้วเวลาใช้จ่ายใช้ในสิ่งที่คุ้มค่ามั้ย??

การสมัครจีเมล์ (Create Gmail Account)

         จีเมล (Gmail) คือ บริการอีเมล์ (email) ที่ให้บริการโดย กูเกิ้ล (Google) เปิดให้ใช้บริการได้ฟรี (free) โดยมีคุณสมบัติที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น ให้พื้นที่ฟรี ถึง 2.8 GB และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก รองรับการใช้งานภาษาไทยและภาษาอื่นๆมากมาย มีระบบค้นหา เป็นต้น มีขั้นตอนการสมัครที่ง่ายดังนี้

        1. เข้าไปที่ https://mail.google.com จะพบหน้าเข้าสู้ระบบให้คลิ๊กที่ Create Account 


        2. กรอกข้อมูลเพื่อสมัครดังนี้ 
            1) ชื่อ นามสกุล กรอกเป็นภาษาไทยได้
            2) ที่อยู่อีเมล์ ตั้งเป็นภาษาอังกฏษผสมตัวเลขได้ แต่จะต้องไม่ซ้ำกับชื่อที่มีอยู่ก่อน หากซ้ำต้องเปลี่ยนใหม่ ควรตั้งให้จำได้ง่าย เช่น เมล์ของบล็อก krumodsay เป็นต้น 
            3) ตั้งรหัสผ่าน (Password) ในกล่องทั้งสองให้เหมือนกัน
            4) วัน เดือน ปี เกิด  ปีให้ใส่ปี ค.ศ. 
            5) เลือกเพศ
            6) เบอร์โทรศัพท์ โดยไม่ต้องใส่ 0 เนื่องจาก +66 คือรหัสประเทศไทยในระบบสากลใช้แทน 0 
            7) ใส่ที่อยู่อีเมล์สำรอง ใช้ในกรณีลืมรหัสผ่าน อาจเป็นเมล์ของเพื่อนหรือคนที่ไว้ใจได้
            8) ใส่ตัวเลขที่เห็นในภาพด้านบน
            9) เลือกประเทศ (ควรเลือกประเทศไทย Thailand)
           10)คลิ๊กที่ NetxStep

        3. หากไม่เกิดข้อผิดพลาดจะพบหน้ายินดีต้อนรับ และสามรถเข้าใช้งาน gmail ได้ทันที




ความต้องการพื้นฐานของระบบ (System Requirements) ระบบทำความดีนักเรียน

 สมมุติให้นักเรียนเป็นประธานรักเรียน นักเรียนมีความต้องการจะส่งเสริมเพื่อนนักเรียนในการทำความดี จึงคิดจะพัฒนาระบบเก็บข้อมูลความดี เพื่อประเม...