วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

การศึกษารายกรณี (Case study )

ที่มา : เทอดศักดิ์ จันเสวี


        การศึกษารายกรณี (Case study ) เป็นรูปแบบหนึ่งของการวิจัยในชั้นเรียนเชิงคุณภาพ  เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยครูในการเชื่อมโยงกลับไปสู่เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดเป็นผล คือบุคลิกภาพเด็กที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

        การศึกษาเด็กเป็นรายกรณี หมายถึง การศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลของเด็กเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม รายห้องเรียนในด้านต่างๆ เช่น พัฒนาการ พฤติกรรม สภาพแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู อย่างละเอียดลึกซึ้ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องศึกษาเฉพาะเด็กที่มีปัญหาเสมอไป อาจศึกษาเด็กที่มีความสามารถ พัฒนาการหรือบุคลิกภาพด้านใดด้านหนึ่งเด่นชัด ควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไป เช่น เด็กปัญญาเลิศ เด็กที่มีความประพฤติปฏิบัติดี เป็นต้น

        การศึกษาเด็กเป็นรายกรณีจึงเป็นประโยชน์มากสำหรับการนำมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียน เพราะจะช่วยให้ครูเข้าใจผู้เรียนที่ครูต้องการช่วยเหลือได้อย่างละเอียดลึกซึ้งจนสามารถหาแนวทางแก้ไขหรือพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์


ขั้นตอนการศึกษาเด็กเป็นรายกรณี

                การศึกษาเด็กเป็นรายกรณีโดยทั่วไปมีอยู่ 5 ขั้นตอน ดังนี้

                1.  ขั้นรวบรวมข้อมูล/ จัดหมวดหมู่ข้อมูล  การรวบรวมข้อมูลผู้รวบรวมข้อมูลต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านพัฒนาการ และจิตวิทยาพัฒนาการ มีจรรยาบรรณของนักวิจัย  และต้องพยายามรวบรวมข้อมูลเด็กให้ครบครอบคลุมพัฒนาการทุกด้านโดยละเอียดอย่างต่อเนื่อง  ตลอดจนเลือกวิธีรวบรวมให้เหมาะสม หลายวิธี  จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายน่าเชื่อถือ เช่น

                                - การสัมภาษณ์เด็กโดยตรง

                                - การรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง

                                - การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารในชั้นเรียน เช่น แบบบันทึกพฤติกรรม ระเบียนสะสม

                2.  ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล คือ การนำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมมาพิจารณา ตั้งสมมุติฐาน

                3.  ขั้นวินิจฉัยปัญหา เป็นการวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรม จากข้อมูลที่ได้มาอย่างเพียงพอ

                4.  ขั้นเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา หลังจากวินิจฉัยปัญหา ขั้นต่อมาเป็นขั้นตอนแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ซึ่งต้องเป็นวิธีการที่มีระเบียบแบบแผน

                5.  ขั้นติดตามและประเมินผล เป็นการติดตามว่าการช่วยเหลือหรือพัฒนาแก้ไขพฤติกรรม บุคลิกภาพเด็กนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ อย่างไร

การพิจารณาข้อมูล( Criteria of Good Information)

                การรวบรวมข้อมูลในการศึกษาเด็กเป็นรายกรณีนั้นบางครั้งต้องพิจารณาว่าข้อมูลที่รวบรวมมาเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา หรือนำมาใช้ในการศึกษาได้หรือไม่ อย่างไร ดังนั้นจึงมีหลักในการพิจารณา ตรวจสอบข้อมูล ดังนี้

    ความถูกต้อง น่าเชื่อถือได้
    ความเที่ยงตรงของข้อมูล
    ความเป็นปรนัยของข้อมูล
    ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมแสดงถึงพัฒนาการของเด็ก
    เวลาและสถานที่ที่รวบรวมข้อมูล
    สถานการณ์และความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม หรือบุคลิกภาพที่ต้องการศึกษา



การเขียนรายงานการศึกษาเด็กเป็นรายกรณี

                การเขียนรายงานการศึกษาเด็กเป็นรายกรณี ควรประกอบไปด้วยรายละเอียด ต่อไปนี้

1.ชื่อผู้ทำการศึกษา ระยะเวลาที่ศึกษา เหตุผลในการศึกษา แหล่งข้อมูล

2.ข้อมูลผู้ถูกศึกษา เช่น ชื่อ  ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด อายุ สถานที่เกิด เชื้อชาติ สัญชาติ

 ศาสนา หน้าตาท่าทางโดยทั่ว ๆไป

3.ปัญหาของผู้ถูกศึกษา

4.ประวัติครอบครัว สภาพแวดล้อมของครอบครัว การอบรมเลี้ยงดู

5.ประวัติสุขภาพ

6.ประวัติการศึกษา (ผลสัมฤทธิ์)

7.พัฒนาการทางสังคม

8.พัฒนาการทางอารมณ์และสุขภาพจิต

9.การวินิจฉัย วิเคราะห์และตั้งสมมุติฐาน

10.ข้อเสนอแนะ

11.การประเมินติดตาม ควรทำในระยะหนึ่งหลังการศึกษา เพื่อจะได้ข้อมูลเพิ่มเติม

หรือทราบผลของการเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา



ตัวอย่างการเขียน รายงานการศึกษารายกรณี



เรื่อง    การแก้ปัญหาเด็กไม่กล้าแสดงออก

โดย

นายเทอดศักดิ์ จันเสวี

ครู อันดับ คศ 1







ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550

โรงเรียนบ้านยางครก

ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 5



คำนำ

           รายงานการศึกษารายกรณีฉบับนี้ เป็นการศึกษาข้อมูลเพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือ  พัฒนา ปรับปรุงพฤติกรรมการไม่กล้าแสดงออกของเด็กหญิง ก (ชื่อสมมุติ) ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ผู้ศึกษาหวังว่าข้อมูลจากรายงานการศึกษารายกรณีฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเด็ก ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนผู้ที่สนใจทั่วไป ขอขอบพระคุณผู้ที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลทุกท่านมา ณ โอกาสนี้

                                                                 เทอดศักดิ์  จันเสวี





หัวข้อเรื่อง/ ปัญหา  การแก้ปัญหาเด็กไม่กล้าแสดงออก

เหตุผลในการศึกษา

                ข้าพเจ้าเป็นครูประจำชั้นระดับชั้นอนุบาล 1 และอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านยางครก จากการที่ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติทั้งในและนอกห้องเรียน พบว่า เด็กหญิง ก (ชื่อสมมุติ)ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 1 มีพฤติกรรมไม่พูดคุยกับเพื่อนและครู นอกจากนี้เวลาครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเมื่อถามคำถามหรือเรียกชื่อเด็กหญิง ก ก็จะก้มหน้าไม่มีปฏิกิริยาตอบสนอง หรือมอบหมายให้ทำกิจกรรมทุกกิจกรรม เด็กหญิง ก จะไม่สนใจ และจะไม่ร่วมหรือทำกิจกรรมใดใดกับเพื่อน  ดังนั้นในฐานะครูประจำชั้นจึงสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรม กรณีเด็กหญิง ก เพื่อหาสาเหตุของพฤติกรรม และหาแนวทางช่วยเหลือปรับปรุง พัฒนาพฤติกรรมให้ดีขึ้นต่อไป



แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา          

1. ตัวเด็กเอง                          2. พ่อแม่เด็ก                       3. เอกสารในชั้นเรียน



สมมุติฐานขั้นต้น

                จากการสังเกตเด็กหญิง ก อย่างไม่เป็นทางการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน และการสัมภาษณ์พูดคุยกับผู้ปกครอง ผู้ศึกษาขอตั้งสมมุติฐานขั้นต้นว่า เด็กหญิง ก มีปัญหาทางด้านสังคม ซึ่งมีรากฐานสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมการอบรมเลี้ยงดูทางบ้าน



ข้อมูลส่วนตัวโดยทั่วไป

                เด็กหญิง ก (ชื่อสมมุติ)  เพศ หญิง เกิดวันที่ 2  เดือนเมษายน พ.ศ. 2546  อายุ 4 ปีเชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ  ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1

                อาชีพบิดา-มารดา  ทำนาทำไร่ ขายของป่าตามฤดูกาล และชำแหละหมูขายเป็นครั้งคราว

                ที่อยู่ปัจจุบัน  บ้านเลขที่ 11/5 หมู่ที่ 9 ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่  



ประวัติส่วนตัวและประวัติครอบครัว

                เด็กหญิง ก อายุ 4 ปี รูปร่างเล็กกะทัดรัด ผมหยิก ผิวค่อนข้างดำ แต่งตัวเสื้อผ้าสะอาดเรียบร้อยดี  ดูโดยทั่วไปมีสุขภาพดี

                เด็กหญิง ก เป็นลูกคนเดียวของบิดากับมารดาคนปัจจุบัน และมีพี่น้องต่างมารดาด้วย

               บิดาอายุ 57 ปี เป็นคนพื้นเมือง มารดาอายุ 38 ปี เป็นชนเผ่ากระเหรี่ยง  ทั้งบิดามารดา ดูโดยทั่วไปสุขภาพดี และดูแลเอาใจใส่ทนุถนอมเด็กหญิง ก เป็นอย่างดี  ไม่ค่อยได้เล่นหรือมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนวัยเดียวกัน ครอบครัวนี้อาศัยอยู่บ้านของตัวเองในบ้านเลขที่ 11/5 หมู่ที่ 9 ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อยเป็นหลัก แต่บางครั้งก็มาอาศัยอยู่ที่กระท่อมชั่วคราวใกล้กับโรงเรียนเพื่อค้าขายของป่าเล็กๆน้อยๆ 

จากการให้ข้อมูลของผู้ปกครอง เด็กหญิง ก เคยเข้าเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งหนึ่ง ระยะเวลาไม่นานนัก เด็กหญิง ก ก็ไม่ยอมไปเรียน  จึงได้ย้ายมาเรียนที่โรงเรียนบ้านยางครก เมื่อเริ่มมาโรงเรียนใหม่ๆ เด็กหญิง ก จะมาโรงเรียนบ้างไม่มาบ้าง จากการสอบถาม พบว่า ผู้ปกครองตามใจเด็กกล่าวคือ ถ้าเด็กบอกว่าไม่อยากมาโรงเรียนก็ไม่ชักจูง หรือพยายามชักชวนให้เด็กมาโรงเรียน



การวินิจฉัยปัญหา

                จากการพูดคุยสัมภาษณ์ บิดามารดาของเด็กทำให้เข้าใจสภาพการอบรมเลี้ยงดู มากขึ้นถึงการดุแลของบิดามารดาแบบตามใจ เอาใจใส่ ทนุถนอมลูกเป็นอย่างดี และด้วยความที่บิดาเป็นคนเมือง มารดาเป็นกระเหรี่ยง สรุปข้อวินิจฉัยได้ว่าเด็กหญิง ก มีปัญหาทางด้านสังคม  และอาจมีปัญหาทางด้านความสับสนทางภาษาจึงส่งผลให้ไม่มั่นใจในตนเองในการสื่อสารกับผู้อื่น



ข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ปัญหา 

                จากข้อวินิจฉัยดังกล่าวผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหา ดังนี้

                1. พยายามพูดคุยแนะนำผู้ปกครองให้ปรับปรุงวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็ก

                2. ขอความร่วมมือผู้ปกครองช่วยปรับปรุงทัศนคติของเด็กที่มีต่อการมาโรงเรียน

                3. ให้โอกาสเด็กในการแสดงออก  ให้แรงเสริมโน้มน้าวใจเด็กให้สนใจร่วมหรือร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อน




การปฏิบัติตามข้อเสนอแนะ

                ข้อเสนอแนะข้อ 3  ข้าพเจ้าได้ดำเนินการเป็นอันดับแรก คือ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะพยามชักชวน โน้มน้าวใจให้แรงเสริมให้เด็กหญิง ก มีส่วนร่วมในกิจกรรมมากที่สุดโดยไม่มีการบังคับให้เด็กหญิง ก ทำกิจกรรม ไม่วิพากษ์วิจารณ์ ให้เพื่อนชักชวนให้เด็กหญิง ก ร่วมกิจกรรมในทุกกิจกรรม

                ข้อเสนอแนะข้อ1 และข้อ 2 ได้ดำเนินการลำดับต่อมา โดยการไปพบปะพูดคุยกับผู้ปกครองที่บ้าน และเมื่อผู้ปกครองมาส่งเด็กหญิง ก ที่โรงเรียน

                จากการดำเนินการตามข้อเสนอแนะทั้ง 3 ข้อ พบว่า ผู้ปกครองมีความเข้าใจและมีส่วนช่วยเป็นอย่างมากในการปรับพฤติกรรมของเด็กให้มีพัฒนาการเป็นไปในทางที่ดีขึ้น กล่าวคือ ปัจจุบันเด็กหญิง ก มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น โดยเมื่อครูเรียกชื่อ เด็กหญิง ก ก็จะขานตอบ เล่นกับกลุ่มเพื่อนมากขึ้น สนใจทำกิจกรรมต่างๆที่ครูจัดมากขึ้น

การติดตามผลการศึกษา

                ถึงแม้ว่าการศึกษาครั้งนี้ยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ในขณะที่เขียนรายงานนี้ ผู้ศึกษาหวังว่าการช่วยเหลือ พัฒนาปรับปรุงพฤติกรรมเด็กหญิง ก จะได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะจากการสังเกตพบว่าในปัจจุบันพฤติกรรมของเด็กหญิง ก มีพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ และผลจากการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ เป็นแนวทางในการช่วยเหลือ พัฒนาปรับปรุงพฤติกรรมของเด็กหญิง ก ให้ดีขึ้น และนำไปใช้กับกรณีอื่นๆ ต่อไป

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

รวม link youtube DLTV ทุกชั้น อ.1 - ม.6

อ.1 youtube.com/dltv10channel 
อ.2 youtube.com/dltv11channel 
อ.3 youtube.com/dltv12channel 
ป.1 youtube.com/dltv1channel 
ป.2 youtube.com/dltv2channel 
ป.3 youtube.com/dltv3channel 
ป.4 youtube.com/dltv4channel 
ป.5 youtube.com/dltv5channel 
ป.6 youtube.com/dltv6channel 
ม.1 youtube.com/dltv7channel 
ม.2 youtube.com/dltv8channel 
ม.3 youtube.com/dltv9channel
ม.4 www.youtube.com/channel/UCxyumuJsybBxnbq9sZ7BJjw
ม.5 www.youtube.com/channel/UCe74eAyX2qI0xrvenVdvfvg
ม.6 www.youtube.com/channel/UC_29UJBfe9_Z2tXvX7jxIfg

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

บทสวดมนต์ ประจำวัน ครูมด

คำบูชาพระ
อิมินา สักกาเรนะ ตัง พุทธัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ

บทสวดมนต์ บูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา   พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม   ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ   สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ)

บทสวดมนต์ นะโมสรรเสริญพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต   อะระหะโต   สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

บทสวดมนต์ ขอขมาพระรัตนตรัย
วันทามิ พุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต
วันทามิ ธัมมัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต
วันทามิ สังฆัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต

บทสวดมนต์ อาราธนาศีล 5
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

บทสวดมนต์ ไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

บทสวดมนต์ สมาทานศีล 5
ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

พุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ

ธรรมคุณ
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ

สังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ

พุทธชัยมงคลคาถา คาถาพาหุง (ถวายพรพระ)

พาหุงสะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะยะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกาวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฉฐะคาถา โย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
มหาการุณิโก

มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก
สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง
สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต
จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง
 วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง
ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต

สวดบูชา หลวงปู่โต พรหมรังสี

ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง   ธะนะกาโม ละเภธะนัง
อัตถิกาเย กายะ ญายะ   เทวานัง ปิยะตัง สุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

พระคาถาชินบัญชร
ชะยาสะนากะตา พุทธา     เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง        เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
ตัณหังกะราทะโย พุทธา    อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง     มัตถะเกเต มุนิสสะรา.
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง        พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง      อุเร สัพพะคุณากะโร.
หะทะเย เม อะนุรุทโธ        สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง  โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง       อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม      อุภาสุง วามะโสตะเก.
เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง        สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน          โสภิโต มุนิปุงคะโว
กุมาระกัสสโป เถโร           มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง     ปะติฏฐาสิคุณากะโร.
ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ        อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา       นะลาเต ติละกา มะมะ.
เสสาสีติ มะหาเถรา            วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา             ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ          อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
ระตะนัง ปุระโต อาสิ           ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ        วาเม อังคุลิมาละกัง
ขันธะโมระปะริตตัญจะ         อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ         เสสา ปาการะสัณฐิตา
ชินา นานาวะระสังยุตตา       สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา        พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
อะเสสา วินะยัง ยันตุ            อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ          สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ           วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ       เต มะหาปุริสาสะภา.
อิจเจวะมันโต                     สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ                     ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ                   ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ                   ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต         จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.

คาถาบูชาพระแก้วมรกต
พุทธะ มะหามะณีระตะนะ ปะฏิมากะรัง ปูเชมิ
ทุติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะ ปะฏิมากะรัง ปูเชมิ
ตะติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะ ปะฏิมากะรัง ปูเชมิ
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ มะหาเตโช เจวะ มะหาปัญโญ
จะ มะหาโภโค จะ มะหายะโส จะ ภะวันตุ เม
นิพพานัสสะ ปัจจะโย โหตุ

พระคาถา บูชา หลวงพ่อโต
โตเสนโต   วะระธัมเมนะ
โตสัฏฐาเน   สิเว วะเร
โตสังอะกะสิ   ชันตูนัง 
โตสะจิตตัง   นะมามิหังฯ

บทสวดบูชาพระพุทธชินราช
อิเมหิ นานา สักกาเรหิ อภิปูชิเตหิ ทีฆายุโก โหมิฯ อะโรโค สุขิโต สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง ปิยัง มะมะ ปะสิทธิลาโภ ชะโย โหตุ สัพพะทา พุทธะชินะราชา อภิปาเลตุ มังฯ นะโม พุทธายะฯ

พระคาถาบูชาพระพุทธเจ้าหลวง ร.5
อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะ นาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (3 จบ)
พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ" (กล่าว 3 ครั้ง)

คาถาพระสุนทรีวาณี
มุนินทะ วะทะนัมพุชะ
คัพภะสัมภะวะ สุนทะรีปาณีนัง
สะระณัง วาณี มัยหัง
ปิณะยะตัง มะนังฯ

บทสวดมนต์ บูชาเจ้าแม่กวนอิม
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ) (3 ครั้ง)
นำโมฮุก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโคว่ กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก ทั่งจี้โต
โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียออฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต
ซาผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี่ซิ้ง เจ็กเฉียก ใจเอียงห่วยอุ่ยติ้ง
นำโมม่อออปวกเยี่ยปอล้อบิ๊ก

บูชาพระพิฆเนศ
โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา
โอม พระพิฆเณศวร
สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
ทุติยัมปิ พระพิฆเณศวร
สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
ตะติยัมปิ พระพิฆเณศวร
สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ

คาถามหาจักรพรรดิ
นะโมพุทธายะ พระพุทธะ ไตรรัตนะญาณ
มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา
พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ
พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา
อัคคีทานัง วะรังคันธัง
สีวลี จะมหาเถรัง
อะหังวันทามิ ทูระโต
อะหังวันทามิ ธาตุโย
อะหังวันทามิ สัพพะโส
พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ

ก่อนทำสมาธิ
ข้าพระพุทธเจ้า ขออาราธนาใต้ญาณบารมี รัศมีแห่งธรรม พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ทุกๆอนันตจักรวาล
อันมีองค์ปฐม เป็นต้นเป็นประธาน ตลอดจนถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน และองค์อวตารแห่งพระศรีอริยะเมตไตย พระปัจเจกพุทธเจ้า พระพุทธบรมศาสดาจักรพรรดิ ทุกๆพระองค์ ภาคปราบทั้งหมดทั้งสิ้นข้าพเจ้าขออาราธนาใต้ญาณบารมีทั้งหมดทั้งสิ้นของทุกๆพระองค์ ขอบุญศักดิ์ สิทธิ มีเดช มีบารมี มีรัศมีแห่งธรรมพลังบุญ พลังธรรมจักร พลังองค์พุทธะ พลังบารมี พลังดวงบุญ ได้โปรดเมตตาส่งพลังบารมีสูงสุดทั้งหมดทั้งมวล มายังธาตุธรรมทั้ง32กายทิพย์ สถิตอยูในกายก่อเกิดพลังทิพย์ ภายในกายในจิตไม่มีประมาณ เพื่อนําไปใช้ช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นด้วยเทอญ

อุกาสะ อุกาสะ ณ โอกาสบัดนี้ ข้าพเจ้าขอสมาทานเอา ซึ่งพระกรรมฐาน ขอขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ และวิปัสสนาญาณ จงบังเกิดขึ้น ในขันธสันดานของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะตั้งสติกำหนดไว้ ที่ลมหายใจเข้าออก ลมหายใจเข้ารู้ ลมหายใจออกรู้ สามหนและเจ็ดหน ร้อยหน และพันหน ด้วยความไม่ประมาท ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป.

หลังทำสมาธิ
หลังจากนั่งสมาธิแล้วควรระลึกข้าพเจ้าขอขมาต่อพระรัตนตรัย พ่อแม่ครูบาร์อาจารย์ องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกๆพระองค์ เมตตาช่วยเหลือ ส่งพลังบารมีทั้งหมดทั้งมวลยังข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะรักษาศีลและนําไปใช้ให้เกิดบารมี เกิดบุญสูงสุด และขอถวายบุญบารมีที่ข้าพเจ้าได้กระทํา ถวายอธิฐานสงฆ์ให้กบพ่อแม่ครูบาร์อาจารย์ทุกๆพระองค์ที่ศาสตร์วิชาความรู้ให้ข้าพเจ้า



วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563

คาถาบูชาพระสุนทรีวาณี


คาถาบูชาพระสุนทรีวาณี

ตั้ง นะโม 3 จบ

มุนินทะ   วะทะนัมพุชะ   คัพภะสัมภะวะ   สุนทะรี

ปานีนัง   สะระณัง   วาณี   มัยหังปิณะยะตัง   มะนังฯ

(ท่อง สาม ห้า หรือ เจ็ด จบพร้อมคำแปล)

คำแปล

          “ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนานางฟ้า คือพระไตรปิฎก ผู้มีรูปอันงาม เกิดแต่ท้องประทุมชาติ คือพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่กว่านักปราชญ์ทั้งหลาย มะนัง ขอจงมาสู่มโนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติละเสียซึ่งอาสวะกิเลสที่ดองอยู่ในสันดานของข้าพเจ้า ทั้งอย่างหยาบ อย่างกลางและอย่างละเอียดให้สิ้นไปเสื่อมไป  ข้าพเจ้าจะไม่ทำให้เป็นอัตตกิลมถานุโยค ไม่ทำให้ลำบากแก่สังขาร”

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ข้อตกลงในห้องเรียน



  • เรียนก่อน ทำงานให้เสร็จ ถึงจะเล่นได้
  • มีเหตุจำเป็นต้องใช้คาบครู ไปทำกิจกรรมอันใด สามารถพูดคุยได้ ห้ามหายไปไม่บอกกล่าว
  • ออกจากห้องคนสุดท้าย ปิดเครื่อง ปิดไฟ ปิดแอร์ด้วย
  • ส่งงาน ส่งช้าหักคะแนน ครูต้องให้ความเป็นธรรมกับคนที่ตั้งใจ
  • ส่งงาน ส่งช้าแค่ไหนครูก็รับ อย่าอ้างว่าส่งช้าแล้วครูไม่รับ
  • ปฏิบัตตามกฏขอโรงเรียน เช่น ห้ามนำของกินมากินในห้อง แต่งตัวเรียบร้อย 



วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

เซนเซอร์วัดอุณภูมิ MCP9701 สำหรับ Microbit

อ่านค่าจาก อนาล็อคพิน p0 - p6 
สูตรแปลงค่าเป็นองศาเซลเซียส
temp = ((num x16/100)-20)
เพียงเท่านี้คุณก็สามารถวัดค่าอุณหภูมิในบริเวณที่คุณอยู่ได้แล้วค่ะ 

วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ความต้องการพื้นฐานของระบบ (System Requirements) ระบบทำความดีนักเรียน

 สมมุติให้นักเรียนเป็นประธานรักเรียน นักเรียนมีความต้องการจะส่งเสริมเพื่อนนักเรียนในการทำความดี จึงคิดจะพัฒนาระบบเก็บข้อมูลความดี เพื่อประเม...