วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

โปรแกรม ischool ส่วนผู้ปกครอง

        โปรแกรม iSchool เป็นโปรแกรมระบบประเภท Web Application ที่มีความสามารถในการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนได้เป็นอย่างดีทั้งข้อมูลครู นักเรียน ผู้ปกครอง และที่เป็นจุดเด่นที่สุดคือ ระบบส่งข้อความ SMS ไปยังผู้ปกครองรายงานถึงการเข้าเรียน การขาดเรียน  โรงเรียนสงวนหญิง โดย ท่าน ผอ.ประชอบ หลีนุกูล ได้นำมาใช้เป็นระบบจัดการดำเนินงานภายในโรงเรียน รวมถึงระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สามารถเข้าถึงได้จากหน้าเว็บ โรงเรียนสงวนหญิง http://www.sysp.ac.th/แล้วคลิ๊กที่เมนู iSchool หรือเข้าถึงโดยตรงได้จาก http://ischool.sysp.ac.th/


        สำหรับบทความนี้ผมจะพาไปดูระบบนี้ในส่วนที่นักเรียนหรือผู้ปกครองได้เห็นครับว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่ผู้ปกครองจะได้รับผ่านทางระบบ iSchool ผมจะขออธิบายไปพร้อมกับวิธีใช้งานเลยนะครับ ดังนี้

การเข้าใช้งาน

        ระบบนี้มีความจำเป็นต้องมีการป้องกันข้อมูลด้วยระบบยืนยันตัวตนด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ครับเพื่อไม่ให้ผู้อื่นมาแอบบดูข้อมูลของนักเรียนแล้วไปทำความเสียหาย มีขั้นตอนดังนี้ครับ

1. พิมพ์รหัสประจำตัวประชาชนของนักเรียนลงในช่องชื่อผู้ใช้งาน 
2. พิมพ์วัน/เดือน/ปี เกิดของนักเรียน เช่น 30/12/2540 ลงในช่องรหัสผ่าน
3. พิมพ์ตัวเลขที่ปราด้านบนลงในช่อง ระบุตัวเลขที่ปรากฏ
4. คลิ๊กปุ่ม เข้าสู่ระบบ

หน้าแรก

        ในหน้าแรกจะปรากฏเมนูอยู่ทางส่วนบนและส่วนล่างถัดจากส่วนเมนูลงไปจะเป็นข้อมูลของนักเรียน ทั้งส่วนที่เป็นข้อมูลของโรงเรียน และข้อมูลส่วนตัวของนักเรียน

ส่วนเมนู

ข้อมูลส่วนตัวของนักเรียน

และส่วนล่างสุด จะเป็นการส่งข้อความกลับมายังโรงเรียน หากท่านมีความคิดเห็นอันใดสามารถพิมพ์ข้อมูลและคลิ๊กที่ปุ่ม ส่งข้อมูล 

ดูผลการเรียน

        เป็นเมนูสำหรับดูผลการเรียน สามารถดูผลย้อนหลังหรือดูทั้งหมดได้ โดยเลือกที่เมนู หมายเลข 1 หมายเลข 2 คือผลการเรียนแบบสรุป และ หมายเลข 3 คือผลการเรียนโดยละเอียดรายภาคเรียน

ดูตารางเรียน

       เป็นเมนูสำหรับดูตารางเรียนของนักเรียนในแต่ละวัน

ดูข้อมูลการขาดเรียน

       เป็นเมนูแสดงวันเวลาที่ขาดเรียนของนักเรียน ประเภทการขาดเรียน (ป่วย ขาด ลา หนีเรียน) รวมถึงข้อมูลรายวิชาและครูผู้สอนที่นักเรียนขาดเรียน หมายเลข 1 คือรายวิชาที่นักเรียนขาดเรียน หมายเลข 2 คือครูผู้สอน ซึ่งสามารถคลิ๊กเพื่อดูข้อมูลครูผู้สอนได้ และ หมายเลข 3 คือจำนวนครั้งและจำนวนคาบเรียนที่นักเรียนขาด


ดูข้อมูลคะแนนเก็บของนักเรียน

        เป็นอีกเมนูสำคัญที่ผู้ปกครองควรจะดู เมนูนี้จะแสดงข้อมูลคะแนนเก็บที่นักเรียนได้ส่ง หรือ ทดสอบไปแล้ว หมายเลข 1 คือ ข้อมูลคะแนนเก็บในรายวิชาหนึ่ง โดยในช่องที่มีคะแนนหมายถึงครูได้ตรวจให้คะแนนนักเรียนแล้ว ส่วนชื่องที่ว่างมีความหมายได้ 3 อย่างคือ เป็นช่องคะแนนครูยังไม่ได้ตรวจหรือยังเรียนไม่ถึงหรือนักเรียนยังไม่ได้ส่งงาน หมายเลข 2 คือ  คลิ๊กเพื่อดูข้อมูลครูผู้สอน

ดูข้อมูลการสแกนบัตร

      เมนูนี้จะแสดงถึงเวลามาโรงเรียน และ กลับบ้าน ของนักเรียน โดยการสแกนบัตร โดยนักเรียนจะได้รับบัตรนักเรียนที่เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ นำไปแตะกับเครื่องสแกนบัตร เมื่อนักเรียนสแกนบัตรแล้วเวลาที่สแกนจะปรากฏในเมนูนี้ด้วย แต่หากไม่สแกนเวลาก็จะไม่ปรากฏ

เมนูอื่นๆ

         เมนูอินเทอร์เน็ต โรงเรียนไม่ได้ใช้งานส่วนนี้เนื่องจากมีระบบยืนยันตัวตนอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนเดิมอยู่แล้ว
         เมนูแผนที่ดาวเทียม จะแสดงข้อมูลเหมือนกับข้อมูลในหน้าแรก



วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

โครงการ ASEAN e-classroom โรงเรียนสงวนหญิง

        เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2557 ณ หอประชุม อาคารเอนกประสงค์ โรงเรียนสงวนหญิงเป็นสถานที่อบรมสัมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการครุภัณฑ์ประกอบห้องเรียน ASEAN School (ASEAN e-classroom) โดยมี นาย สรชัด สุจิตต์ และ นันต์ชัย แก้วสุวรรณ์ รอง ผอ.สพม.9 เป็นประธานเปิดงาน 

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ง31101 ใบงานที่ 1.2 การสร้าง blog

ใบงานที่ 1.2 การสร้าง blog
คำชี้แจง 
1.ให้นักเรียนสมัครเป็นสมาชิกของ Gmail โดยศึกษาใบความรู้ และลงมือทำ

ใบความรู้ที่ 1.2.1 วิธีการสมัคร Gmail

2.ให้นักเรียนสร้าง blog ด้วย Blogger ศึกษาใบความรู้  


ใบความรู้ที่ 1.2.2 แนวทางการตั้งชื่อ Blog 
ใบความรู้ที่ 1.2.3 การสร้าง Blog ด้วย Blogger

3.ให้นักเรียนสร้างบทความที่อธิบายเกี่ยวกับตัวนักเรียนเอง อธิบายอย่างไรก็ได้ แต่จะต้องมีข้อมูล ชื่อ นามสกุล ชั้น และ เลขที่ ในบทความด้วย ใน blog 1 บทความ

4.นำที่อยู่ blog ที่สร้างเสร็จแล้วมาโพสในกลุ่ม Facebook ห้องของนักเรียน


การประเมินผล 10 คะแนน

ความถูกต้อง
ตรงเวลา
พอใช้(5)
ดี(6)
ดีมาก(7)
ตรง(3)
ไม่ตรง(0)

ง31101 ใบงานที่ 1.1 รายงานตัว

ใบงานที่ 1.1 รายงานตัว
คำชี้แจง 
1.ให้นักเรียนสมัครเป็นสมาชิกของระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook ที่ www.facebook.com
2. เข้ามาที่ Fanpage ครูมด ศิวาวุธ  ภาณุพิจารย์ ที่อยู่ https://www.facebook.com/krumodsy

Fanpage ครูมด ศิวาวุธ  ภาณุพิจารย์

3. มองหาสถานะที่เป็นรายชื่อห้องของนักเรียน และ แสดงความคิดเห็น เป็น ชื่อ-นามสกุล ชั้นและเลขที่ ของนักเรียน เพื่อรายงานตัวในสถานะที่เป็นชื่อห้องของนักเรียน
4. ให้นักเรียนเข้ากลุ่มห้องของนักเรียนด้วยกระบวนการของะบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook

สถานะที่เป็นรายชื่อห้องของนักเรียน และ แสดงความคิดเห็น

การประเมินผล

ความถูกต้อง
เข้ากลุ่ม
ตรงเวลา
พอใช้(1)
ดี(2)
ดีมาก(3)
เข้า (5)
ไม่เข้า (0)
ตรง(2)
ไม่ตรง(0)

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ใบประกาศ รองชนะเลิศอันดับที่ 1 พานไหว้ครู ม.5/1 ปี 2557

        ขอแสดงความยินดีด้วยกับลูก(ศิษย์)ๆ ม.5/1 ปีการศึกษา 2557 ที่มีครูมด ศิวาวุธ  ภาณุพิจารย์ และครูเแอนทิพยรัตน์ ดนุไทย เป็นครูที่ปรึกษา ที่ได้รับรางวัลการประกวดพานไหว้ครู รองชนะเลิศอันดับที่ 1 (ที่ 2 ) ขอชื่นชมว่าทำได้ดีมาก ขอบคุณทุกๆคนมาก รักลูก(ศิษย์)ๆทุกคนครับ

ตัวอย่าง แบบเสนอหัวข้อการสร้าง Blog

 (ตัวอย่าง) แบบเสนอหัวข้อการสร้าง Blog รายวิชา ง31101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ผู้เสนอ น.ส.เรียบร้อย  รักการเรียน  ชั้น  ม. 4/7 เลขที่ 99
ชื่อ blog ภาษาไทย   อาเซียนน่ารู้     ชื่อ blog ภาษาอังกฤษ  Asean Education
ที่อยู่ blog  AseanEdu.blogspot.com
ครูที่ปรึกษา 1.ครูศิวาวุธ  ภาณุพิจารย์  2.ครูชนินทร์ ชโลธร
ที่มาและความสำคัญ
ใน พ.ศ. 2558 จะมีการเปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียน ผู้จัดทำเห็นว่าเราควรศึกษาและนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ต่อๆไป จึงจัดทำ blog อาเซียนน่ารู้  ขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนให้สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นให้แก่ผู้ที่สนใจจะศึกษานำไปเผยแพร่ต่อไป
วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
1. เพื่อblog อาเซียนน่ารู้  ขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ชม
3. เพื่อศึกษาการสร้าง blog และเว็บไซต์
ซอฟแวร์ที่ใช้ในการพัฒนา
1.www.bloger.com
2.adobe Photoshop
3.PhotoScape
ขอบเขต
เนื้อหาภายใน Blog จะประกอบไปด้วย ข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน โดยมีหัวข้อหลักดังนี้
1. ประวัติความเป็นมา
2. ประเทศสมาชิก
3. สภาพสังคมของประเทศสมาชิก
4. สภาพเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก
5. การเมืองการปกครองของประเทศสมาชิก
6. ข่าวเด่นประเด็นร้อน
7.บทวิเคราะห์ที่น่าสนใจ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน

2.ได้รับความรู้ในการสร้างเว็บ

แบบเสนอหัวข้อการสร้าง Blog

แบบเสนอหัวข้อการสร้าง Blog  รายวิชา ง31101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ผู้เสนอ                                                                                 ชั้น                                            เลขที่                                   
ชื่อ blog ภาษาไทย                                                             ชื่อ blog ภาษาอังกฤษ                                                         
ที่อยู่ blog                                                                                                                                                                            
ครูที่ปรึกษา 1.                                                                    2.                                                                           
ที่มาและความสำคัญ
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                            
วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
1.                                                                                                                                                                           
2.                                                                                                                                                                           
3.                                                                                                                                                                           
                                                                              
ซอฟแวร์ที่ใช้ในการพัฒนา
1.                                                                                                                                                                           
2.                                                                                                                                                                           
3.                                                                                                                                                                           
                                                                              
ขอบเขต
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                             
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.                                                                                                                                                                           
2.                                                                                                                                                                           
3.                                                                                                                                                                           
                                                                               

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เทคนิคการตั้งชื่อ blog ( how about blog name)



        ชื่อ(name) .... เป็นสิ่งสมมุติแทนตัวเราหรือแทนสิ่งที่เราเรียก ชื่อ blog ก็เช่นกัน การจะตั้งชื่อ blog ให้ดี สอดคล้องกับเนื้อหา เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป และก็ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวในการตั้งชื่อ แต่มีกฏสำหรับการตั้งชื่อเพื่อให้สามารถอ่านได้ดังนี้

1. ต้องมีความยาว 2 - 46 ตัวอักษร
2. ต้องไม่มีสัญลักษณ์พิเศษเช่น @!#$%^&*()_+= ต่างๆ
3. มี - ( Dash ) ขั้นได้ แต่ห้ามอยู่หน้าเช่น -myname.blogspot.com

        ซึ่งนอกจากกฏ 3 ข้อนี้แล้วสามารถตั้งได้ แต่ทว่าจะตั้งอย่างไร ให้เป็นที่นิยม ดูดี เท่ ผมก็จะขอแนะนำแนวทางในการตั้งชื่อ blog ตามหลักการของคำว่า 

== "'ง่ยๆ" ==
== "Easy Easy" ==

เนื่องจากผู้ใช้เว็บส่วนใหญ่ (จริงๆต้องว่าทุกๆคน แต่ก็ขอเว้นไว้สำหรับคนขยันๆ)  นั้นมีความ "ขี้เกียจ (laze) " ดังนั้นอะไรก็ตามที่ทำให้ ง่าย จะเป็นที่นิยม และง่ายที่ว่าเป็นอย่างไรผมขอเสนอดังนี้

1. จำง่าย (easy to remember)  คือการตั้งชื่อให้จำได้ง่าย มีปัจจัยดังนี้
  - มีความหมาย (name is mean) เช่น face - book หน้า - หนังสือ เป็นคำที่มีความหมาย คนทั่วไปแม้แต่เด็กๆก็เข้าใจ
  - สะกดผิดได้ยากโดยเลือกใช้คำพื้นๆ(basic word) ง่าย เช่น hi5 ischool  เป็นต้น
  - ยิ่งสั้น ยิ่งดี (shortest name) เลือกใช้ชื่อที่สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะ คนเราไม่ชอบจำอะไรที่ยาวเกินไป ยิ่งสั้นยิ่งจำได้ง่าย แต่ถ้าจำเป็น ก็ไม่ควรเกิน 3 คำ สังเกตจากเว็บดัง มีไหมละครับที่ชื่อยาวเกิน 3 คำ 

2. ง่ายในการค้นพบ ( easy to find ) คือการตั้งชื่อให้สื่อความหมายและหาพบได้ง่าย
  -  คำสำคัญ( keyword) การตั้งชื่อควรจะต้องมีคำสำคัญของเนื้อหาอยู่ในชื่อด้วย เพื่อสื่อความหมายให้ผู้สนใจ "จำได้" และ "ค้นพบ" ได้ง่าย เช่น toyland mycartoon zoompicture 4share
  -  สอดคล้องกับเนื้อหา คือ ต้องตั้งชื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหา เช่น ทำเรื่องเกี่ยวกับหนังสื่อก็ควรมีคำว่า book 

ข้อสังเกต
1. อย่างไรก็ตาม ทั้ง2ข้อก็มีความขัดแย้งกันอยู่ ผมคิดว่าควรให้ความสำคัญกับข้อ 1 มากกว่าเพราะพบว่าเว็บที่ตั้งชื่อสุดโต่งอย่าง google facebook kapook sanook ซึ่งไม่ได้สนใจคำสำคัญหรือสอดคล้องกับเนื้อหาแต่อย่างใด
2. ชื่อดีดี สั้น ชาวบ้านจองไปหมดแล้ว ซึ่งเราไม่สามารถใช้ซ้ำได้ ดังนั้นอีกข้อแนะนำนึงจึงควรใช้พจจนานุกรมช่วย เพราะคำศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงกันอาจแก้ปัญหาชื่อซ้ำได้ ผมแนะนำ google translate หรือ กูเกิลแปลภาษา ก็สะดวกดีครับ เข้าใช้ได้ที่ translate.google.co.th/

ความต้องการพื้นฐานของระบบ (System Requirements) ระบบทำความดีนักเรียน

 สมมุติให้นักเรียนเป็นประธานรักเรียน นักเรียนมีความต้องการจะส่งเสริมเพื่อนนักเรียนในการทำความดี จึงคิดจะพัฒนาระบบเก็บข้อมูลความดี เพื่อประเม...