วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

งีบอย่างไรให้คุ้มค่า



เคยไหม? ที่เราเรียนหรือทำงานแล้วเกิดอาการเหนื่อยล้า ง่วงเหงาหาวนอน แล้วเกิดอยากจะหาที่งีบหลับสักพัก แต่ทว่า 
"งีบแล้วกลับง่วงกว่าเก่า หรือ ลุกไม่ขึ้น"
 จนเสียการเสียงานไปเลย ลองมาดูเวลางีบที่เหมาะสมดูนะครับ จะได้วางแผนถูก





10 นาที ได้ผลทันใจ มาเร็วเครมเร็ว
การงีบนาน  10 นาที ช่วยขจัดความล้า และกระตุ้นพลังสมองได้ทันที และมีผลอย่างน้อย 2 ชั่วโมง แต่ถ้าได้งีบเพียงแค่ 5 นาที ก็คงเปล่าประโยชน์

20 นาที ผลดีที่ต้องรอ งัวเงียกว่าครึ่งชั่วโมงกว่าจะฟื้น
การได้งีบนานเป็น 2 เท่าจะช่วยให้ตอบสนองได้เร็วขึ้น และทำงานเกี่ยวกับตัวอักษร และตัวเลขได้ดีขึ้น แต่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 35 นาที เพื่อสลัดความมึนงงหลังจากงีบ

30 นาที ช่วยกระตุ้นได้ดี
คุณจะรู้สึกง่วงหลังงีบอยู่ราว 5 นาที แล้วอีก 90 นาทีให้หลัง คุณจะตื่นตัวมากขึ้น และใช้ความคิดได้ดีขึ้น แต่ก็สู้การงีบแค่  10 นาที ไม่ได้ เพราะมีอาการ “ง่วงค้าง” ที่เป็นผลจากการหลับลึกกว่า

45-90 นาที เปล่าประโยชน์ไปนอนเลยดีกว่า
ระหว่างการงีบนาน  45-90นาที คุณจะหลับลึกโดยที่วงจรการนอนหลับยังไม่เสร็จสมบูรณ์ “หลังงีบคุณจึงมักจะรู้สึกแย่ยิ่งกว่าตอนก่อนงีบเสียอีก” ดร.ดับบลิว.คริสเตอร์เฟอร์ วินเทอร์ นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพการนอนหลับ บอก

90-110 นาที บ่งบอกถึงปัญหา
วงจรการนอนหลับของคนทั่วไปจะใช้เวลา 90 นาที ซึ่งดีสำหรับการงีบที่นานกว่านั้น แต่ ดร.วินเทอร์บอกว่าการงีบนานๆ เป็นประจำ อาจบ่งบอกว่าคุณมีความผิดปกติของการนอนหลับก็ได้

ความต้องการพื้นฐานของระบบ (System Requirements) ระบบทำความดีนักเรียน

 สมมุติให้นักเรียนเป็นประธานรักเรียน นักเรียนมีความต้องการจะส่งเสริมเพื่อนนักเรียนในการทำความดี จึงคิดจะพัฒนาระบบเก็บข้อมูลความดี เพื่อประเม...